ห้องเรียนยุคใหม่ รองรับการใช้งานแบบ Hybrid Learning
เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 การเรียนการสอนในห้องเรียนหรือที่เรียกว่าแบบ Onsite จึงต้องมีการปรับรูปแบบใหม่เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และสถานะการณ์ดังกล่าวการที่จะต้องออกแบบห้องเรียนยุคใหม่ให้ตอบโจทย์การเรียนการสอนรูปแบบใหม่นั้น ก็สอดคล้องกับคำกล่าวที่ว่า
“รูปแบบการจัดเรียนการสอนที่ทำให้เกิดการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ การทำงานเป็นทีม การเรียนรู้ร่วมกัน และการสร้างความรู้ใหม่
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลโลก (Global Citizen) สามารถดำรงตนในโลกศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จ” (Chantem, S., 2010)
Hybrid Learning คืออะไร
Hybrid Learning หรือบางที่อาจจะเรียกว่า Blended Learning คือ การเรียนแบบผสมผสานรูปแบบใหม่ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ของชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป
โดยจะมีการผสมผสานการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน (Synchronous) และคนละเวลากัน (Asynchronous) ที่เชื่อมโยงกันด้วยเครือข่ายโทรคมนาคม ที่สามารถเรียนได้แบบออนไลน์ วิดิโอถ่ายทอดสดจากคลาส หรือ live-streaming ร่วมกับการเข้าเรียนในห้องเรียน หรือ Onsite ก็ได้เช่นกัน
6 ข้อดีของการออกแบบห้องเรียนยุคใหม่ แบบ Hybrid Learning
- สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่มีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน (Learning Style)
- สามารถดึงดูดและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนได้ดี
- เพื่อเปิดโอกาสการเรียนรู้ด้วยตนเองตามวัน เวลา และสถานที่ ที่ตนเองสะดวก
- เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรการสอนให้มีความสามารถหลากหลาย ดำเนินงานวิจัย การบริการวิชาการ และงานสร้างสรรค์ได้มากขึ้น
- การเชื่อมต่อและการประสานเป็นไปได้อย่างง่ายดาย
- ตอบสนองต่อฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ในสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวดล้อมทีเกิดขึ้นตลอดเวลา
ออกแบบห้องเรียนยุคใหม่แบบไหนที่ใช่และเหมาะสมที่สุด
สำหรับการออกแบบห้องเรียนยุคใหม่ให้เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนการสอนนั้นควรออกแบบให้มีการเรียนร่วมกันผ่านห้องเรียนออนไลน์ พร้อมแบบทดสอบและงานที่ได้รับมอบหมาย แล้วจึงค่อยกลับมาทบทวนกับผู้สอนอีกครั้งแบบตัวต่อตัวในห้องเรียน
เนื่องจากเป็นการเรียนแบบ Hybrid จึงควรมีการสลับให้มีหนึ่งกลุ่มเรียนในชั้นเรียนตามปกติแบบรักษาระยะห่าง ส่วนกลุ่มอื่นๆ เรียนสดร่วมกันผ่านห้องเรียนออนไลน์ในช่วงเวลาเดียวกัน
อีกทั้งยังต้องออกแบบให้มีการผสมผสานกันระหว่างกิจกรรมการเรียนรู้ที่สถาบันกับที่บ้าน โดยมีผู้สอนคอยให้คำแนะนำรวมถึงข้อเสนอแนะต่างๆ ในห้องเรียน หลังจากนั้นจึงค่อยให้ผู้เรียนกลับไปทดลองทำที่บ้าน แล้วกลับมาทบทวนกันอีกครั้งในห้องเรียน
ภาพรวมของระบบที่ใช้ในการออกแบบห้องเรียนยุคใหม่
มาดูกันว่าสำหรับการออกแบบห้องเรียนยุคใหม่นั้นจะต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
- e-Learning ช่วยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าบทเรียนที่ผู้สอนนําไป Upload ไว้บน Website ได้ตลอดทุกที่ ทุกเวลา
- Face-to-face เน้นการสอนเนื้อหาที่เป็น “Why” and “How” เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนและเรียนรู้ร่วมกัน โดยการคิดวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น อภิปราย แสวงหาความรู้และใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา วิธีการสอนสมัยใหม่ที่เน้นการมีส่วนร่วมและทําให้ผู้เรียนสามารถต่อยอดความรู้ด้วยตนเอง ได้แก่ การสอนแบบอภิปราย (Discussion) กรณีศึกษา (Case study) การสอนแบบแก้ปัญหา (Problem solving) การทดลอง (Experiment) และการฝึกปฏิบัติ (Practice) เป็นต้น
- IT Support คือ มีระบบการจัดการเรียนการสอน มีระบบการทดสอบ มีเทคโนโลยีสนับสนุน Interactive learning Web board หรือ Chat room Web blog
- ระบบการจัดการข้อมูล การบันทึก จัดเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้ในพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งทั้งผู้เรียนและผู้สอนต่างก็มีสิทธิ์สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ทุกที่ทุกเวลา
- สามารถแบ่งห้องเป็น Classroom หรือ Study Group เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น รวมถึงความปลอดภัยในด้านสุขภาพและสุขอนามัยด้วย
- ระบบ Student Engagement เพิ่มจะได้เพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้เรียนได้มากขึ้น
- สามารถแบ่งกลุ่มผู้เรียนในห้องออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้ เพื่อให้เกิดกิจกรรมการทำงานกลุ่มภายในห้องเรียน
- สามารถเชื่อมต่อกับระบบ Learning Management Systems หรือ LMS ของสถาบันฯ
โซลูชั่นของอุปกรณ์ AV ที่ใช้ภายในห้อง
เป็นการนำเอาเทคโนโลยี เครื่องมือที่ทันสมัย และมัลติมีเดียต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้งาน เช่น
- จอแสดงผลหลัก ที่ติดตั้งทางด้านหน้าห้องเรียน สามารถออกแบบโดยใช้จอ LED Pixel Pitch หรือ LED Video Wall หรือจอรับภาพแบบมอเตอร์ไฟฟ้า ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน โดยจุดประสงค์หลักใช้เพื่อแสดงข้อมูลการสอน สำหรับผู้เรียนแบบ onsite
- จอแสดงผลหลังห้อง สำหรับแสดงหน้าจอผู้เรียนแบบ online เพื่อให้ผู้สอนสามารถเห็นผู้เรียนเปรียบเสมือนเรียนอยู่ภายในห้องและเวลาเดียวกัน
- จอทัชกรีน (Interactive Display) หรือเรียกว่า กระดานสอนอัจฉริยะ เชื่อมต่อการเรียนการสอนได้อย่างเต็มรูปแบบ สามารถเชื่อมต่อหน้าจอเวลาผู้สอนใช้งานเพื่อไปแสดงผลทางจอแสดงผลหลักได้
- Recording Classroom เครื่องบันทึกการเรียนการสอน สำหรับบันทึก/จัดเก็บ ข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพและเสียงในช่วงที่มีการสอน เอกสารในระบบ Server ส่วนกลาง ที่เชื่อมต่อและเข้าถึงข้อมูลได้ผ่านระบบเครือข่าย
- Video Streaming สามารถแสดงผลย้อนหลังหรือถ่ายทอดสดผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาแบบสอนสดหรือเรียนแบบย้อนหลังได้
- Video Conference รองรับการเชื่อมต่อได้ทุกแพลตฟอร์ม เช่น Zoom, MS team, Google classroom เป็นต้น
- ระบบส่งสัญญาณภาพแบบไร้สาย สามารถแชร์หน้าจอของผู้สอนหรือผู้เรียนได้ทันทีจากอุปกรณ์ IT ส่วนตัว ที่รองรับได้ทั้งระบบ iOS, Android และ Windows
- กล้อง Auto tracking (PTZ) รองรับการบันทึกภาพและเสียงในการเรียนการสอน ณ เวลานั้นๆ และยังสามารถติดตามใบหน้าผู้สอนได้แบบอัตโนมัติ ไม่ว่าผู้สอนจะเคลื่อน
ที่ไปยังตำแหน่งใดๆภายในห้อง ผู้เรียนแบบ Online จะเห็นผู้สอนเสมือนนั่งเรียนอยู่ภายในห้อง - ระบบควบคุมอุปกรณ์ เป็นอุปกรณ์ควบคุมห้องเรียนอัจฉริยะแบบหน้าจอสัมผัสและติดตั้งโปรแกรมภายใน ช่วยให้ผู้สอนบริหารจัดการการเรียนการสอนและควบคุมอุปกรณ์ต่างๆภายในห้องในได้อย่างสะดวกสบาย
สรุป
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นสามารถตอบโจทย์การออกแบบห้องเรียนยุคใหม่ ที่มีการใช้งานในรูปแบบ Hybrid Learning จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเรียนการสอนในรูปแบบดังกล่าว จะมาเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับสถาบันการศึกษาทุกระดับ ในการยกระดับการเรียนการสอน ลดเวลาเดินทาง อีกทั้งยังปกป้องสุขภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษา ตลอดจนบุคลากรของสถาบันฯ
การออกแบบด้วยระบบ Hybrid Learning นับเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 21 เป็นการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน ข้อดีของการเรียนในห้องเรียนและข้อดีของการเรียนระบบการศึกษาทางไกลทางอิเล็กทรอนิกส์มาผสมผสานกัน เน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียนและเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องเชื่อมโยงกันทั้งการเรียนในห้องเรียนและการเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำให้ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียน การสอนด้วยระบบ Hybrid Learning จะต้องสามารถแสดงผลการเรียนรู้ที่ทำให้พฤติกรรมของ ผู้เรียนเปลี่ยนไปในทางที่ดีตามวัตถุประสงค์ เช่น การศึกษาเนื้อหาและเตรียมตัวก่อนเข้าชั้นเรียน การมีระเบียบวินัย เข้าชั้นเรียนตรงเวลา ส่งงานตรง เวลา รู้จักการทำงานเป็นทีม การแสดงความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การมีทักษะด้าน เทคโนโลยีและทักษะด้านภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การจะทำให้การจัดการเรยน การสอนสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพดังกล่าว มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในประเทศ การจัดการเรียนการสอนระบบ Hybrid Learning มาใช้ จะต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้ง ด้านการจัดการ ด้านเทคโนโลยี ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และที่สำคัญคือการเตรียมความพร้อมให้แก่ตัวผู้สอนและตัวผู้เรียนให้เข้าใจและก้าวทันเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ใช้กับนวัตกรรมการเรียนการสอนในยุคการศึกษาไร้พรมแดนด้วย
Read more: คลิกเพื่ออ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ New Normal Smart Classroom ห้องเรียนอัจฉริยะแบบใหม่ในยุค New Normal
ในบทความหน้า AVL จะมีอะไรมาอัปเดตอีกบ้าง สามารถติดตามได้ผ่าน Facebook ของเรานะครับ