หน้าเว็บ

วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การวางแผนงานประกันคุณภาพภายในของสกอ.ระดับคณะ

แนวทางการวางแผนประกันคุณภาพภายในระดับคณะ

  1. การกำหนดข้อมูลพื้นฐานของคณะวิชาให้มองให้ครบในเรื่อง ปรัชญา ปณิธาน อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และวิสัยทัศน์ ของคณะ โดยการมองความเป็นไปได้ของความสอดคล้องในอนาคต
  2. กำหนดจุดเน้นของคณะที่จะผลิตบัณฑิตออกมา ว่าจุดเน้นที่จะทำให้เกิดจุดเด่นหรือความแตกต่างคืออะไร ซึ่งให้มองถึงความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดการสอดคล้องกับรายวิชา วิสัยทัศน์ ที่กำหนดไว้และความสามารถของคณะที่ทำให้เป็นจริงได้ในอนาคต เพราะว่าสิ่งที่ทำจะต้องปรากฏเป็นในหลักฐานต่างเช่น มคอ. โครงการ งานวิจัย และกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะ
  3. ในการทำงานให้เริ่มวางแผนจากองค์ประกอบที่ 5 การบริการวิชาการ เป็นตัวเริ่มเรื่อง โดยการสำรวจความต้องการของชุมชน และออกบริการวิชาการยังชุมชนที่เลือก หากไปได้สมควรเลือกชุมชนซ้ำกันเพื่อการพัฒนาที่ยั้งยืน โดยการไปบริการวิชาการในแต่ละครั้งต้องนำนักศึกษาในรายวิชาในวิชาหนึ่งเข้าร่วมทั้งรายวิชาเพื่อการบูรณาการ โครงการที่ทำต้องมีการประเมินโครงการที่ชัดเจนคือประเมินทั้ง ผู้เข้าร่วมโครงการ นักศึกษาที่บูรณาการ  และชุมชนโดยการประเมินชุมชนนั้นต้องติดตามประเมินซ้ำหลังจากทำโครงการประมาณ 3 เดือนเพื่อบอกผลกระทบและสิ่งที่ได้ต่อชุมชน
  4. หลังจากบริการวิชาการแลัวให้นำผลที่ได้หรือปัญหาของชุมชนมาทำงานวิจัยซึ่งการบริการวิชาการสมควรเกิดขึ้นในภาคเรียนที่ 1 และการเสนองานวิจัยน่าจะเกิดหลังจากนั้นไม่เกิน 2 เดือนเพื่อความต่อเนื่องของเวลา และงานวิจัยน่าจะเป็นงานวิจัยที่ไม่ใหญ่มาก ให้สามารถทำเสร็จไม่เกิน 4 เดือนเพื่อสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในเทอมที่ 3 หรือภาคฤดูร้อนในปีการศึกษาเดียวกันให้ได้ตามเกณฑ์การประกันคุณภาพ หลังจากทำวิจัยเสร็จแล้วให้ทำการเผยแพร่งานวิจัยทั้งบนเว็บไซต์และทำแผ่นพับ 
  5. องค์ประกอบที่ 2 คือองค์ประกอบที่เกี่ยวกับการผลิตบัณฑิต เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะต้องเชื่อมโยงกับองค์ประกอบอื่นๆ โดยองค์ประกอบที่ 4 การวิจัย องค์ประกอบที่ 5 การบริการวิชาการ ดังนั้นการเขียนในองค์ประกอบที่ 2 ต้องดูความเชื่อมโยงให้ชัดเจน ทั้งข้อมูลพื้นฐานของคณะและองค์ประกอบที่ 4 และองค์ประกอบที่ 5 เพราะองค์ประกอบที่ 2 จะเป็นตัวบอกถึงวิธีการผลิตบัณฑิตที่สอดคล้อง โดยองค์ประกอบนี้จะต้องมีแผนงานที่ชัด รวมถึงการพัฒนาอาจารย์ ซึ่งเน้นที่จะส่งเสริมอาจารย์ให้มีเทคนิคการสอนใหม่ๆ โดยการจัดอบรมสัมมนาเรื่องเทคนิคการสอน การติดตามอาจารย์ในเรื่องเทคนิคการสอน การประเมินการสอนของอาจารย์เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาเทคนิคการสอนต่อไป รวมถึงการที่ต้องส่งเสริมให้นักศึกษาไปร่วมให้การแข่งขันงานวิชาการต่าง ๆ เพื่อให้นักศึกษาได้รับรางวัลในการแข่งขันระดับชาติ ส่งเสริมให้นักศึกษาไปเข้าร่วมประชุมทางวิชาการ ซึ่งหากขาดส่วนนี้ไปอาจทำให้เสียคะแนนได้ ในส่วนของกลไกที่มีตัวบ่งชี้ทุกตัวบ่งชี้ต้องทำให้ครบเพราะจะเป็นคะแนนพื้นฐานที่สามารถทำได้ง่ายที่สุด 
  6. องค์ประกอบที่ 3 การพัฒนานักศึกษาเป็นองค์ประกอบที่เน้นการสร้างนักศึกษาทางกิจกรรม เช่น 3D และการชี้นำสังคม โดยโครงการที่ทำทุกโครงการหากเกี่ยวกับชุมชนให้มีการประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นหลักจากทำโครงการเแล้ว ทุกโครงการ ในองค์ประกอบนี้จะต้องมีกิจกรรมที่นักศึกษาต้องมีกิจกรรมในการให้ความรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพซึ่งอาจอยู่ในมคอ.ของรายวิชาก็ได้ พร้อมทั้งสอนให้นักศึกษาทำโครงการเพื่อนำเสนอมหาวิทยาลัย
  7. องค์ประกอบที่ 6 เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม เป็นองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการสร้างคนให้เป็นคนดี ดังนั้นกิจกรรมหรือโครงการต้องส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้นักศึกษา  และต้องมีอยู่ใน มคอ. ของรายวิชาใดวิชาหนึ่งอย่างชัดเจน รวมถึงต้องส่งเสริมให้นักศึกษามีรางวัล หรือประกาศชมเชย เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม 
  8. องค์ประกอบที่ 1 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกับแผนงานซึ่งการตรวจเกือบทุกองค์ประกอบต้องเกิดจากการวางแผนดังนั้นในองค์ประกอบนี้เป็นตัวเริ่มต้น หากองค์ประกอบที่เหลือไม่สอดคล้องตามแผนแล้วอาจทำให้เสียคะแนน ดังนั้นองค์ประกอบต้องดูให้สอดคล้องกันทั้งแผนงบประมาณและแผนยุทธ์ศาสตร์ ในส่วนการประกันทำขึ้นเพื่อให้ทุกอย่างมีการวางแผน ดังนั้นเราต้องมีแผนยุทธ์ศาสตร์และแผนปฏิบัติการของคณะเสนอและต้องให้สอดคล้องการการทำงานเป็นสำคัญ และทุกปีต้องมีการประเมินแผนยุทธ์ศาสตร์ ประเมินแผนปฏิบัติการณ์ และประเมินแผนประกันคุณภาพและองค์ประกอบนี้ต้องมีผลการประเมินตามอัตลักษณ์ แนะนำให้คณะทำเป็นของตนเองมากกว่าการใช้ของส่วนกลาง
  9. องค์ประกอบที่ 7 เป็นเรื่องของการบริหารจัดการ ซึ่งส่วนที่เป็นผู้บริหารสถาบันให้อธิบายเกี่ยวกับคณบดีเพราะถือว่าคณะวิชาเป็นสถาบัน ส่วนใดที่จำเป็นต้องใช้สถาบันให้อ้างสถาบันได้ตามสมควร ในส่วนที่อ้างสภาสถาบันให้นำข้อมูลของสภามาใช้ได้เลย ในส่วนของตัวบ่งชี้ที่ 7.2 เรื่องการจัดการความรู้นั้น วิธีการทำที่ง่ายที่สุดสามารถทำได้ดังนี้
    1. แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ของคณะ โดยคณบดี
    2. ประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้ครั้งที่ 1 กำหนดประเด็นความรู้โดยต้องมี 2 ประเด็นหลักคือ 1.) ประเด็นเกี่ยวกับการผลิตบัณฑิต 2.) ประเด็นเกี่ยวกับการทำวิจัย 
    3. ประชุมครั้งที่ 2 ให้เป็นการประชุมคณะ เพื่อนำประเด็นที่ได้มาหารือแลกเปลี่ยนกันอาจจะใช้วิธีตั้งคำถามในกระดาษแล้ว ให้ทุกคนในคณะตอบคำถาม หลังจากการประชุมให้เลขาที่ประชุมนำข้อมูลที่ได้ไปสรุปเป็นองค์ความรู้ครั้งที่ 1 หากปีที่ผ่านมามีองค์ความรู้ที่สรุปและนำไปใช้แล้วให้นำความรู้นั้นมาวิเคราะห์ผลการใช้งานในครั้งนี้ด้วย
    4. ประชุมครั้งที่ 3 ให้นำข้อมูลสรุปที่ได้จากการประชุมครั้งที่ 2 มาแลกเปลี่ยนและฟังข้อเสนอแนะจากคณาจารย์ในคณะ โดยอาจจะทำเป็นแบบสอบถามให้คณาจารย์ในคณะแสดงความคิดเห็น
    5. ประชุมครั้งที่ 4 นำความข้อมูลที่ได้จากการแสดงความคิดเห็นจากครั้งที่ 3 มาสรุปเป็นองค์ความรู้ และให้คณาจารย์แสดงความคิดเห็นครั้งสุดท้ายก่อนสรุปองค์ความรู้ที่สมบูรณ์
    6. นำความรู้เผยแพร่บนหน้า WebSite และทำเอกสารเผยแพร่ภายในมหาวิทยาลัย
  10. องค์ประกอบที่ 8 เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยโดยการอ้างถึงข้อมูลของมหาวิทยาลัย
  11. องค์ประกอบที่ 9 เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพให้เริ่มต้นจากการแต่งตั้งกรรมการประกันคุณภาพและผู้รับผิดชอบงานประกันแต่ละตัวบ่งชี้
        ทำ 11 เป็นข้อเสนอแนะในการทำแผนงานเพื่อการทำประกันคุณภาพภายในระดับคณะ อาจไม่ได้เข้าถึงรายละเอียดมากนักแต่จะแสดงถึงความสอดคล้องกันของการวางแผน